Translate

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง และโครงสร้างของกระดูกเสื่อมลงทำให้กระดูกเปราะบาง สามารถแตกหักหรือเกิดการยุบตัวได้ง่าย บริเวณที่พบการหักของกระดูกได้บ่อย คือ ข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง เมื่อกระดูกหักจะทำให้รู้สึกปวดมากจนไม่สามารถใช้งานอวัยวะนั้นต่อได้ จำเป็นต้องพักรักษาตัวเป็นระยะเวลานานซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ปอดอักเสบ แผลกดทับ ภาวะหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น อาการแทรกซ้อนต่างๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้สุขภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พบได้บ่อยในหญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้สูงอายุ




ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกพรุน
  1. ผู้สูงอายุ
  2. หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
  3. การกินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย
  4. กรรมพันธุ์ (มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้)
  5. เชื้อชาติ (พบมากในคนผิวขาวหรือชาวเอเชีย) 
  6. ดื่มกาแฟ ดื่มเหล้า และสูบบุหรี่ปริมาณมากเป็นประจำ
  7. ขาดการออกกำลังกาย
  8. น้ำหนักตัวน้อย รูปร่า่งผอม
  9. โรคบางอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และโรคขาดวิตามินดี
  10. ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ และยาสเตียรอยด์
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและสงสัยว่าจะเป็นโรคกระดูกพรุนควรปรึกษาแพทย์ และตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกโดยใช้เครื่องวัดมวลกระดูกเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรักษาได้ทันท่วงที

อาการ

โรคกระดูกพรุนในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่เมื่อเป็นมากขึ้นอาจมีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังโก่งงอ ความสูงลดลง กระดูกเปราะหักง่ายกว่าคนปกติถึงแม้จะไม่ได้มีอุบัติเหตุที่รุนแรง

การป้องกัน

โดยทั่วไปเมื่อคนเรามีอายุมากกว่า 40 ปี ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลง เราสามารถเสริมสร้างให้มวลกระดูกแข็งแรงขึ้นได้โดยการดูแลตัวเองดังนี้ คือ
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ ถั่วต่างๆ เต้าหู้ และผักใบเขียวต่ีางๆ เช่น ผักโขม คะน้า ใบชะพลู และใบยอเป็นต้น
  • ลดอาหารที่มีไขมันมาก เนื่องจากไขมันทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง
  • ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี สม่ำเสมอ เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพศ และัวัย เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ รำมวยจีน เต้นรำ ยกนำหนัก เป็นต้น
  • ควรงดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
  • ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง เช่น ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ และยาสเตียรอยด์
  • ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
การรักษาด้วยยา
  1. ยาช่วยลดการทำลายกระดูก
  2. ยาช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูก
  3. ยาที่ช่วยทั้งกระตุ้นการสร้างและลดการทำลายกระดูก
ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับยาได้ที่
FACEBOOK: พึ่งพรเภสัช ร้านยาของครอบครัวคุณ
เรามีทีมงานเภสัชกรมืออาชีพ ให้คำปรึกษาแก่ท่านด้วยความยินดีและเต็มใจ จะ inbox หรือ timeline ได้เสมอค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น