Translate

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เหน็บชา (Numbness)

เหน็บชา (Numbness)


อาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย เกิดขึ้นในบางครั้ง เป็นๆ หายๆ หรือเป็นอยู่ตลอดเวลา พบบ่อยที่บริเวณ มือ เท้า แขน และขา อาการคือรับความรู้สึกเย็น ร้อน เจ็บ ปวด ได้น้อยกว่าปกติจนถึงไม่รู้สึกอะไรเลย เช่น บางคนมีอาการชาแบบร้อนซู่ๆ บริเวณนิ้วก้อยขึ้นมาถึงท้องแขนด้านในเป็นแถบตอนตื่นนอนใหม่ๆ สักพักอาการชานั้นจะหายไปเอง บางคนมีอาการรู้สึกเหมือนมีอะไรยุบยิบบริเวณปลายมือปลายเท้าแล้วหายไป ต่อมาเปลี่ยนเป็นรู้สึกชาหนาๆ ตลอดเวลาแทน ในขณะที่ผู้สูงอายุบางคนที่มีอาการเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวจะมีอาการปวดหลัง ชาขา ร่วมด้วยขาอ่อนแรงได้ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาททั้งสิ้น




ประเภทของอาการชา

อาการชามีหลายประเภทแบ่งได้ดังนี้
  1.  ชาทั้งมือและเท้าตลอดเวลาทั้ง 2 ข้าง โดยเริ่มจากปลายเท้าขึ้นมาตามขา และปลายนิ้วมือขึ้นมาตามแขน 
  2.  ชาบริเวณใดบริเวณหนึ่งเพียงแห่งเดียว
  3. ชาเป็นจุด หรือหลายจุด แต่ไม่ใช่กลุ่มแรก
  4. ชาครึ่งซีก เช่น หน้า-คอ-แขน-ลำตัว-ขา ด้านใดด้านหนึ่ง หรืออาจไม่ตลอดทั้งแถบก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้
  5. ชาครึ่งตัวโดยมากเป็นครึ่งล่าง เช่น จากขา 2 ข้างขึ้นมาถึงท้องหรืออก และรวมถึงชาลามขึ้นมาเกือบทั้งตัว
  6. ชาแขวนลอย คือ บริเวณที่อยู่สูงกว่าและต่ำกว่าส่วนที่ชายังปกติดี เช่น ชาแขน 2 ข้างพาดหน้าอกและหลัง โดยที่ หน้า คอ ท้อง ขาไม่ชา เหมือนใส่เสื้อแขนยาว
  7. ชาทั้งตัว
สาเหตุ

อาการมือเท้าชาสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • เกิดจากการนั่งหรือยืนท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ทั่วถึง
  • เกิดจากการกดทับเส้นประสาทเฉพาะที่ ทำให้ชาเฉพาะส่วน ในช่วงแรกจะชาแบบเป็นๆ หายๆ ต่อมาเป็มากขึ้นจนชาแบบถาวรร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบางมัดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานใช้งานข้อมือมากๆ เช่น งานบ้าน ซักผ้า รีดผ้า พิมพ์ดีด จนเนื้อเยื่อที่ข้อมือหนาตัวขึ้น และกดรัดเส้นประสาทบางเส้น จะมีอาการชาที่นิ้วมือบางนิ้วได้ ในระยะแรกจะเป็นๆ หายๆ ถ้าปล่อยไว้นานจนเป็นตลอดเวลา อาจมีอาการนิ้วหัวแม่มืออ่อนแรงร่วมกับกล้ามเนื้ออุ้งมือลีบลงได้ อาการนี้อาจเกิดขึ้นที่มือข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้
  • เกิดจากระดับแร่ธาตุและวิตามินในร่างกายผิดปกติ
  • เกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท งูสวัด เบาหวาน ไทรอยด์บางชนิด ไมเกรน ลมชัก หลอดเลือดสมองตีบ ไตวายเรื้อรัง โรคติดเชื้อบางชนิด และความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ซึ่งมักมีอาการชาปลายมือปลายเท้า บางครั้งเกิดร่วมกับอาการอ่อนแรงของมือเท้า แขนขา ทั้งสองข้างพอๆ กันได้ และมักเป็นเรื้อรัง
  • เกิดจากการใช้ยา เคมีบำบัด หรือการฉายรังสี ถ้าทราบและจัดการสาเหตุตั้งแต่แรกอาการผิดปกติต่างๆ จะกลับมาเป็นปกติได้
การักษา
  1. การกำจัดสาเหตุ
  2. การรักษาด้วยยา
  3. การผ่าตัด
  4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ(กายภาพบำบัด)

ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับยาได้ที่
FACEBOOK: พึ่งพรเภสัช ร้านยาของครอบครัวคุณ


เรามีทีมงานเภสัชกรมืออาชีพ ให้คำปรึกษาแก่ท่านด้วยความยินดีและเต็มใจ จะ inbox หรือ timeline ได้เสมอค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น