Translate

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

Warfarin: ยาวาร์ฟาริน.. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด





ยาวาร์ฟาริน คือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน โดยยานี้จะออกฤทธิ์ต้านการทำงานของวิตามินเคซึ่งใช้ในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนช้าลง ผู้ป่วยจึงรับประทานวาร์ฟารินเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งจะไปอุดตันระบบไหวเลียนของเลือดภายในร่างกาย




โรคที่ต้องใช้ยาวาร์ฟาริน
กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับยาวาร์ฟารินได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนได้ง่าย ซึ่งก้อนเลือดนี้อาจอุดตัยตามเส้นเลือดต่างๆ จนอวัยวะภายในเกิดอาการขาดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง จนสร้างความอันตรายร้ายแรงหรือพิการได้เช่น

  • ผู้ป่วยหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจเทียม
  • ความผิดปกติที่สิ้นหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจรูห์มาติค (RHD)
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF)
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่เส้นเลือดในปอด
  • เส้นเลือดแดงบริเวณแขน ขา หรือเส้นเลือดดำใหญ่อุดตันจากลิ่มเลือด เช่นแขน ขา สะโพก
  • ผู้ป่วยมีประวัติเส้นเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือด
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ


อาการผิดปกติที่เกิดจากการไม่ใช้ยาวาร์ฟาริน
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ความผิดปกติขิงลิ้นหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • เส้นเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือด

อาการผิดปกติที่เกิดจากการใช้ยาวาร์รินมากเกินไป
"อาการเลือดออกผิดปกติ"
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • ประจำเดือนมามากผิดปกติ
  • เลือดกำเดาไหล
  • มีบาดแผลแล้วเลือดออกมาก
  • อุจจาระ ปัสสาวะเป็นเลือด
  • ไอ อาเจียนเป็นเลือด
  • จ้ำเลือด

ยาวาร์ฟาริน กินอย่างไร
  • ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ตามแพทย์สั่ง
  • ควรรับประทานยาเวลาเกียวกันทุกวัน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้คงที่
  • ต้องอ่านฉลากยาทุกครั้งที่จะรับประทานยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องอ่านวิธีรับประทานใหม่ทุกครั้งที่มาพบแพทย์เนื่องจากขนาดการใช้ยาอาจต้องปรับเปลี่ยนตามผลเลือด
  • ห้ามเพิ่มหรือลดขนาดยาด้วยตนเอง
  • มาพบแพทย์สม่ำเสมอ ตามที่ได้นัดหมาย

ถ้าลืมรับประทานยาวาร์ฟารินจะทำอย่างไร
  • กรณีลืมรับประทานยาไม่เกิน 12 ชั่วโมง ให้รีบรับประทานยาทันที่ที่นึกได้ในขนาดเท่าเดิม
  • กรณีลืมรับประทานยาเกิน 12 ชั่วโมงไปแล้ว ให้ข้ามยามื้อเดิม ไปรับประทานยามื้อถัดไปในขนาดเดิมเวลาเดิมได้เลย
  • ห้ามเพิ่มขนาดยาที่จะรับประทานเป็นสองเท่าโดยเด็ดขาด
  • จดบันทึกทุกครั้งที่ลืมรับประทานยา แล้วนำมาแจ้งแพทย์เมื่อมาโรงพยาบาล

ต้องรับประทานยาวาร์ฟารินนานเท่าไหร่

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาวาร์ฟารินไปตลอดชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่ผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม ยกเว้นแพทย์สั่งให้หยุดใช้ยาในบางสภาวะโรค

ข้อปฏิบัติตัวเมื่อได้รับยาวาร์ฟาริน

การรับยานี้ต้องมีการเจาะเลือดตรวจเป็นระยะตลอด เนื่องจากขนาดยาที่น้อยเกินไป จะไม่ได้ผลในการรักษา ขนาดยาที่มากเินไปจะทำให้เลิือดออกง่ายซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ควรปฏิบัติตามคำสั่งดังนี้
  1. มาตรวจตามแพทย์นัดเพื่อเจาะตรวจดูฤทธิ์ของยาที่ให้ทุก 1 - 3 เดือน และปรับยาตามคำสั่งของแพทย์ ในกรณีที่ไม่สามารถมาพบแพทย์ได้ตามนัด ให้รับประทานยาในขนาดเดิมไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการเจาะเลือดและพบแพทย์
  2. ท่านต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง นอกจากมีอาการเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด หรือเป็นสีดำ มีบาดแผลเลือดออกมาก มีรอบช้ำตามตัวเป็นจ้ำๆ ประจำเดือนออกมาผิดปกติ ไอเป็นเลือด เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวต้องหยุดรับประทานยา แล้วมาพบแพทย์ เพื่อเจาะเลือดดูว่ารับประทานยามากเกินไปหรือไม่
  3. หากไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์ด้วยปัญหาอื่นต้องบอกให้แพทย์ทราบว่าท่านกำลังรับประทานยาวาร์ฟารินอยู่โดยเฉพาะในกรณีที่จะต้องทำการผ่าตัด ถอนฟัน หรือต้องรับประทานยาอย่างอื่นเพิ่ม
  4. ควรหลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
  5. ถ้าเกิดอุบัติเหตุ มีบาดแผล เลือดอาจออกไม่หยุด วิธีแก้ไขไม่ให้เลือดออกมาคือ ใช้มือกดบาดแผลให้แน่นเพื่อหยุดเลือด หรือทำให้เลือดออกน้อยลง แล้วรีบไปโรงพยาบาลทันที เมื่อพบแพทย์หรือพยาบาล ให้แจ้งว่าท่านรับปร่ะทานยาฟาร์ฟารินอยู่
  6. ท่านท่านควรทำความเข้าใจรายละเอียดในสมุดประจำตัวผู้ป่วยวาร์ฟาริน และต้องนำบัตรประจำตัวผู้ป่วยและสมุดประจำตัวผู้ป่วยวาร์ฟาริน ติดตัวตลอดเวลา และแจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในทุกสถานพยาบาลหรือร้านขายยา
  7.  หากมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โปรดแจ้งพยาบาลประจำทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง และแพทย์ประจำตัวของท่านทราบ เพื่อจะได้ติดต่อสอบถามอาการ และให้คำแนะในการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง
  8. ยาและอาหาร บางชนิด สามารถเกิดปฏิกิริยากับยาวาร์ฟานิน มีผลกับระดับยาวาร์ฟารินในเลือดได้
  9. ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอรล์
  10. ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจมีการกระทบกระแทกรุนแรงหรือเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย เช่น การนวดรุนแรง การเล่นกีฬาที่รุนแรง
  11. ยานี้มีผลต่อทารกในครรภ์ โดยฌฉพาะในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากท่านตั้งครรภ์หรือต้องการจะมีบุตร ควรปรึกษาแพทย์
  12. ยานี้สามารถขับผ่านทางน้ำนมได้ ดังนั้นหญิงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนให้ยานี้
ยาที่เพิ่มฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน
  • ยาแก้ปวดข้อบางชนิด เช่น Indomethacin, Diclofenac
  • ยาฆ่าเชื้อบางตัว เช่น  Co-trimoxazole, ยากลุ่ม Cephalosporines
  • ยากลุ่ม Macrolide, Metronidazole
  • ยาหัวใจ Amiodarone, Aspirin

ยาที่ลดฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน
  • ยากันชักบางตัว เช่น Carbamazepine, Phenytoin
  • ยาฆ่าเชื้อบางตัว เช่น Rifampicin, Griseofulvin
  • ยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาลูกกลอนหรือยาแผนโบราณอื่นๆ ก็อาจมีผลต่อระดับยาวาร์ฟารินได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเหล่านี้
จึงไม่ควรเปลี่ยนแปลงปริมาณการรับประทานอาหารเหล่านี้ในแต่ละวัน
( ควรรับประทานในปริมาณที่เท่าๆกันทุกวัน )

การเก็บรักษายา
  • เก็บยาให้พ้นแสง และความชื้น
  • เก็บยาไว้ในภาชนะที่โรงพยาบาลจัดให้
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
ติดตามผลการรักษาอย่างไร

เนื่องจากยาวาร์ฟาริน เป็นยาที่มีระดับยาที่ให้ผลในการรักษาและการเกิดพิษใหล้เคียงกันมากและมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาเช่น อาหาร ยาอื่นๆที่ใช้ร่วม ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน จึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามการรักษาอย่างใหล้ชิด โดยการตรวจเลือดเพื่อนำไปหาค่าไอเอ็นอาร์ (INR) ค่านี้เป็นตัวช่วยในการปรับขนาดยา

ค่าไอเอ็นอาร์ ( INR ) คืออะไร?มีประโยชน์อย่างไร ?

ค่าไอเอ็นอาร์ เป็นค่าทางห้องปฏิบัติการที่ใช้บอกประสิทธิภาพการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินซึ่งค่าไอเอ็นอาร์ที่ต้องการในผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันตามสภาวะโรคของผู้ป่วย
  • ค่าไอเอ็นอาร์ที่ต้องการ คือ ประมาณ 2-3 (ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจกำหนดให้สูงหรือต่ำกว่านี้)
  • ถ้าค่าไอเอ็นอาร์ มีค่าน้อยกว่าช่วงที่ต้องการแสดงว่าผลในการต้านการแข็งตัวของเลือดยังไม่ดีพอ เลือดมีโอกาสจับเป็นก้อนได้ง่าย
  • ถ้าค่าไอเอ็นอาร์ มีค่ามากกว่าช่วงที่ต้องการแสดงว่าผูป้สยอาจได้รับยาขนาดสูงเกินความจำเป็น ซึ่งอาจทำให้เลือดออกได้ง่าย

อาการหรือสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้วต้องรีบแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบในทันที ?

  • อาการเลือดออกผิดปกติ
  1. มีจุดจ้ำเลือดออกตามตัว
  2. เมื่อเกิดแผลแล้วเลือดไหลไม่หยุด
  3. มีเลือดประจำเดือนมากผิดปกติในเพศหญิง
  4. ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด
  5. มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ หรืออุจจาระมีสีดำ
  6. ปัสสาวะมีสีผิดปกติเป็นสีสนิมหรือสีน้ำล้างเนื้อ
  7. มีเลือดออกมากผิดปกติเวลาแปรงฟัน
  • อาการที่บ่งบอกว่า อาจจะเกิดการอุดตันของลิ่มเลือด
  1. อาการปวดศีรษพเฉียบพลัน หรือเวียนศีรษะ
  2. แขนขาบวม
  3. หน้ามืด หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก
  • รู้สึกเพลียหรือเหนื่อยผิดปกติ
  • ท้องเสีย, ไข้หลายวัน
  • เบื่ออาหาร, ทานข้าวไม่ได้หลายวัน




LINK: แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน
(Warfarin guideline สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์)


ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับยาได้ที่
FACEBOOK: พึ่งพรเภสัช ร้านยาของครอบครัวคุณ
เรามีทีมงานเภสัชกรมืออาชีพ ให้คำปรึกษาแก่ท่านด้วยความยินดีและเต็มใจ จะ inbox หรือ timeline ได้เสมอค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น