Translate

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis)




หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน Acute bronchitis ส่วนมากมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้มีอาการไอ เสมหะขาวใส บางครั้งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการถูกสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากการเผาขยะและถ่าน ฝุ่นละออง เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้อาจทำให้มีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้




สาเหตุ
  • ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเหมือนไข้หวัด ส่วนเชื้ออื่นที่เป็นสาเหตุคือเชื้อ Mycoplasma pneumoniae., Chlamydia pneumoniae
  • เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ กลิ่นสี สารเคมี ฝุ่นละอง
  • เกิดจากกรดไหลย้อน Gastroesophageal reflux disease (GERD)
อาการ

มีอาการไอ ซึ่งจะเป็นมากเวลากลางคืน ในระยะเริ่มแรกจะไอแห้งๆ อาจมีเสียงแหบและเจ็บหน้าอกเพราะไอมาก 4-5 วันต่อมาจะมีเสมหะเหนียวเป็นสีขาวใส(เชื้อไวรัส) หรือขุ่นข้นสีเหลืองเขียว(เชื้อแบคทีเรีย) ในเด็กอาจไอจนอาเจียนร่วมกับมีอาการไข้ต่ำๆ หรือไม่มีก็ได้ บางคนมีอาการหอบหืดร่วมด้วย เรียกว่า หืดจากหลอดลมอักเสบ(Asthmatic bronchitis)

สิ่งที่ตรวจพบ

โรคนี้ถ้าดูแลตัวเองและพักผ่อนให้เพียงพอมักจะหายได้เองภายในระยะเวลา 1-3 สัปดาห์ ขณะที่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยได้แก่ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หลอดลมพอง ถุงลมโป่งพอง

ปัจจัยเสี่ยง
  • สูบบุหรี่หรืออยู่กับคนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีโรคกรดไหลย้อน Gastroesophageal reflux disease (GERD)
  • ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคือง เช่น ฝุ่นละออง สารเคมี
โรคแทรกซ้อน

ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่ไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้ที่มีอาการบ่อยๆ อาจจะกลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้

การรักษา
  1. แนะนำให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้นอย่าทำงานหนัก ดื่มน้ำอุ่นมากๆ เพื่อช่วยให้เสมหะใสขับออกได้ง่ายขึ้น ไม่ควรดื่มน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเพราะอาจทำให้ไอมากขึ้น
  2. ควรงดสูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศเสีย ฝุ่นละอองมาก
  3. ให้ยาขับเสมหะ ไม่ควรให้ยาแก้ไอชนิดกดอาการไอ เพราะจะทำให้เสมหะเหนียวขับออกยาก และอาจอุดกั้นหลอดลมเล็กๆ ทำให้ปอดบางส่วนแฟบได้
  4. ถ้าเสมหะขาวใส(เกิดจากเชื้อไวรัสหรือการระคายเคือง) ไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าหากเสมหะเป็นสีเหลืองหรือเขียว(เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย) ควรให้ยาปฏิชีวนะ
  5. ถ้ามีอาการหอบหืดให้ยาขยายหลอดลม
  6. ถ้าไอนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือมีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์ หรือน้ำหนักลดควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาต่อไป
Link: Guideline for the management of acute bronchitis


ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับยาได้ที่


FACEBOOK: พึ่งพรเภสัช ร้านยาของครอบครัวคุณ
เรามีทีมงานเภสัชกรมืออาชีพ ให้คำปรึกษาแก่ท่านด้วยความยินดีและเต็มใจ จะ inbox หรือ timeline ได้เสมอค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น