ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ แต่ปัจจัยเหล่านี้อาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ได้แก่
- ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักมีประวัติบิดาหรือมารดาป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โดยที่ผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคภูมิแพ้คนละชนิดกับบิดามารดาก็ได้ เมื่อบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้มีโอกาศให้กำเนิดบุตรที่เป็นโรคภูมิแพ้ได้ร้อยละ 20-40 แต่ถ้าบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ีโอกาศที่บุตรจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้สูงถึงร้อยละ 50-80 เลยทีเดียว
- ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษในอากาศที่มาจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ ฝุนละอองจากการทำกสิกรรมรวมถึงโรงสีข้าว
โรคภูมิแพ้ เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อสารที่ได้รับ เช่น เชื้อรา ขนสัตว์ วัชพืช ฝุ่นละออง เป็นต้น โดยอาการที่แสดงออกมามีหลายอย่าง แต่มีกระบวนการเกิดโรคแบบเดียวกัน ได้แก่
- จมูกอักเสบจาการแพ้ (โรคแพ้อากาศ) จะมีอาการคันจมูก จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก อาการดังกล่าวอาจเกิดได้ตลอดทั้งปีหรือในบางช่วงเวลาเท่านั้นก็ได้ ผู้ที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้(โรคแพ้อากาศ) มีปัญหาเรื่องการปรับตัวของเยื่อบุจมูก คือ จมูกจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศแต่ปรับตัวไม่ค่อยได้ ทั้งอากาศร้อน อากาศเย็น ความชื้นของอากาศ และกลิ่นฉุนต่างๆ พบได้ในทุกเพศทุกวัย ประมาณร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะมีอาการก่อนอายุ 30 ปี
- เยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้ มีอาการคันบริเวณรอบๆ ดวงตา หนังตาด้านในแดง ตาบวม น้ำตาไหล
- ผื่นแพ้พันธุกรรม (มักพบในเด็กเล็ก) อาการที่แสดง คือ ผิวหนังบริเวณข้อพับต่างๆ ข้อศอก และหัวเข่า แดง แห้งและคัน
- ผื่นลมพิษ ผิวหนังมีอาการคัน บวม มีผื่นนูนหนา
- อาการแพ้เฉียบพลัน มีอาการหน้าแดง คัดแน่นจมูก เกิดการบวมของเยื่อบุจมูกและเนื้อเยื่ออ่อนใต้ผิวหนัง มีผื่นลมพิษ คลื่นไส้อาเจียน หายใจเสียงดังวี๊ดๆ ถ้าเป็นมากความดันตกอาจทำให้เสียชีวิตได้
ข้อแตกต่างระหว่างโรคแพ้อากาศกับไข้หวัด
โรคแพ้อากาศต่างจากไข้หวัด คือ ไข้หวัดจะมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล เริ่มแรกน้ำมูกใส ต่อมาจะขุ่นข้น เป็นอยู่นาน 3-10 วัน อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้มีจามบ้าง แต่ไม่มีคันจมูก ส่วนโรคแพ้อากาศจะมีอาการคันจมูก น้ำมูกใสๆ คันตาน้ำตาไหล ไม่มีไข้ ส่วนใหญ่เป็นนานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มักจะมีอาการเป็นๆ หายๆ
- สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการมีหลายประเภท ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ อารมณ์เศร้า วิตก กังวล เสียใจ ฝุ่นควัน อากาศที่เปลี่ยนแปลง
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เช่น วิ่ง เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักยาน เตะฟุตบอล บาสเก็ตบอล หรือเต้นแอโรบิก จะช่วยให้ความไวต่อสิ่งเร้าของเยื่อบุตา จมูก และหลอดลมช้าลง ทำให้ความจำเป็นในการใช้ยาน้อยลง และทำให้มีภูมิต้านทานต่อหวัดมากขึ้น เป็นแล้วหายเร็วขึ้นและเป็นยากขึ้นด้วย
การรักษา
- การกำจัดหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้(สำคัญที่สุด) เพื่อให้อาการเกิดน้อยลง และใช้ยาน้อยลงด้วย คือ
- สิ่งของเครื่องใช้ควรมีเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อให้ดูแลทำความสะอาดได้ง่าย
- พรมและผ้าม่านไม่ควรใช้เพราะเป็นแหล่งสะสมฝุ่น
- เครื่องนอนทั้งหมด เช่น ที่นอน หมอน และหมอนข้าง ควรยัดด้วยใยสังเคราะห์ ยาง หรือฟองน้ำ ไม่ควรใช้นุ่นเพราะนุ่นเป็นที่อยู่ของไรฝุ่น หากจำเป็นต้องใช้ที่นอนที่ยัดด้วยนุ่น ก็ควรหุ้มด้วยพลาสติก หรือผ้าร่มก่อน
- ควรนำที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม ออกตากแดดจัดๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อฆ่าตัวไร
- ซักผ้าปูที่นอน เครื่องนอน ผ้าม่าน สม่ำเสมอ ด้่วยน้ำร้อน (60 ํc) สัปดาห์ละครั้งฆ่าไรฝุ่นได้
- ผ้าห่มควรใช้ที่ทำจากใยสังเคราะห์ไม่ควรใช้ที่ทำจากผ้าขนสัตว์ ผ้าสักหลาด หรือผ้าสำลี
- พื้นห้องควรเป็นพื้นขัดมันเพราะกำจัดฝุ่นได้ง่าย
- เครื่องปรับอากาศช่วยให้ฝุ่นละออง ควันไฟ และเชื้อราจากภายนอกเข้ามาภายในห้องได้น้อยลง โดยเฉพาะรุ่นที่มีระบบกรองอากาศ
- ไม่ควรเปิดพัดลมเป่าใส่ตัว หรือที่พื้นใกล้บริเวณที่อยู่ เพราะจะเป็นการเป่าฝุ่นเข้าจมูกทำให้อาการภูมิแพ้เป็นมากขึ้นได้
- พยายามจัดห้องให้โล่ง สะอาด ไม่มีฝุ่น
- ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน เช่น สุนัข แมว ควรให้อยู่บริเวณนอกบ้านเท่านั้น และอาบน้ำให้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง สามารถช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ได้
- ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสสัตว์เลี้ยง และพยายามให้พวกเขาอยู่ห่างๆ จากใบหน้า
- ไม่ควรปลูกต้นไม้ในบ้าน เพราะทำให้อับชื้นเป็นแหล่งเพาะเชื้อราได้
- ควรจัดบ้านให้อากาศถ่ายเทได้ดีและแสงแดดส่องถึง
- ควรหาทางกำจัดแมลงภายในบ้าน โดยเฉพาะแมลงสาบ เพราะซากและอุจจาระของแมลงสาบเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญชนิดหนึ่ง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น
- รักษาด้วยยากินและยาพ่นจมูก
- การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันรักษาโรคภูมิแพ้
Link: Guidelines for the Diagnosis and Management of Food Allergy
Link: Management of allergic rhinitis and its impack on asthma
Link: Allergic Rhinitis and its Impact on Asthma (ARIA) 2010 revision.
ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับยาได้ที่
FACEBOOK: พึ่งพรเภสัช ร้านยาของครอบครัวคุณเรามีทีมงานเภสัชกรมืออาชีพ ให้คำปรึกษาแก่ท่านด้วยความยินดีและเต็มใจ จะ inbox หรือ timeline ได้เสมอค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น