ฝ้า (Melasma) เป็นผื่นสีน้ำตาลที่ใบหน้า โดยเฉพาะที่บริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก คาง บริเวณที่ถูกแสงแดด รอยโรคเกิดขึ้นช้าๆ และมักเป็นเหมือนกันทั้งสองข้างของใบหน้า พบบ่อยในหญิงวัยกลางคน ผื่นมีสีคล้ำขึ้นเมื่อถูกแสงแดด
สาเหตุ
เชื่อว่าฝ้าน่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ปัจจัยเหล่านี้มีผลกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีในชั้นหนังกำพร้า ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
- แสงแดด เชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ รังสี UVA และ UVB เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้าหรือทำให้ฝ้าเป็นมากขึ้นได้ทั้งสิ้น
- ฮอร์โมน พบผู้ป่วยที่เป็นฝ้าขณะตั้งครรภ์ หรือรับประทานยาคุมกำเนิดได้บ่อย หลังคลอดหรือหยุดยาผื่นอาจจางลง จึงเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศน่าจะเป็นตัวการที่ทำให้เกิดฝ้า อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า estrogen, progesterone หรือ MSH ตัวใดแน่ที่ทำให้เกิดฝ้า
- ยา พบว่าผู้ที่รับประทานยากันชัก diphenylhydantion, mesantoin มักเกิดผื่นดำคล้ายรอยฝ้าที่บริเวณหน้า จึงเชื่อว่ายานี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดฝ้า
- เครื่องสำอาง การแพ้ส่วนผสมในเครื่องสำอางอาจทำให้เกิดรอยดำแบบฝ้าได้ ส่วนผสมเหล่านี้อาจเป็นสารให้กลิ่นหอมหรือสี และฝ้าที่เกิดขึ้นมักเป็น dermal type
- พันธุกรรม เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยงข้องในการเกิดฝ้า เนื่องจากมีรายงานการคเกิดฝ้าในครอบครัวได้ถึงร้อยละ 20-70 นอกจากนี้ฝ้ายังพบบ่อยในชาว Hispanics และชาวเอเชีย อย่างไรก็ตามอิทธิพลของพันธุกรรมจริง หรือเป็นจากสิ่งแวดล้อม แสงแดดก็ยังไม่ทราบแน่ชัด
อาการแสดง
ฝ้าเริ่มจากเป็นจุดสีน้ำตาลแล้วขยายเป็นผื่นหรือปื้น ขอบค่อนข้างชัด แต่อาจหยัก(geographic borders) ผิวของผื่นปกติ ไม่มีขุย นักพบทั้ง 2 ข้างของใบหน้า(symmetry) ที่บริเวณแก้ม จมูก เหนือริมฝีปากด้านบน หน้าผาก หรือคางไม่มีอาการ
การรักษา
หลักการรักษาฝ้าได้แก่
- พยายามหาสาเหตุ และแก้ไขหรือหลีกเลี่ยง เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด แสงแดด
- ทำให้สีผื่นจางลงโดยการใช้ยา การลอกหน้า และเลเซอร์
- ใช้ครีมทากันแดด เพื่อลดผลของแสงแดดที่กระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น
ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับยาได้ที่
FACEBOOK: พึ่งพรเภสัช ร้านยาของครอบครัวคุณเรามีทีมงานเภสัชกรมืออาชีพ ให้คำปรึกษาแก่ท่านด้วยความยินดีและเต็มใจ จะ inbox หรือ timeline ได้เสมอค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น