การแบ่งประเภทของโรคแผลในทางเดินอาหาร
แบ่งตามตำแหน่งที่เกิด จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.แผลในลำไส้ (Duodenal ulcer: DU) มักพบในผู้ป่วยอายุ 25-55 ปี พบมากในผู้ป่วยอายุ 40 ปี
อาการแสดง : ปวดใต้ลิ้นปี่ มักมีอาการตอนกลางคืน (เที่ยงคืน-ตี2) เมื่อรับประทานอาหารมักจะทำให้อาการปวดบรรเทาลง
2.แผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer: GU) จะไม่พบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่จะพบมากในช่วงอายุ 55-65 ปี
อาการแสดง : ปวดแบบระบุตำแหน่งได้ยาก มักไม่มีอาการตอนกลางคืน การรับประทานอาหารจะทำให้มีอาการปวดได้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
แบ่งตามสาเหตุ จะแบ่งได้ 3 แบบ คือ
1.เกิดจากเชื้อ H.pyroli-associated PUD
- เป็นเรื้อรัง
- มักเกิดแผลในลำไส้มากกว่ากระเพาะอาหาร
- เลือดออกในทางเดินอาหารแต่ไม่รุนแรง
- เป็นเรื้อรัง
- มักเกิดแผลในกระเพาะอาหารมากกว่าในลำไส้
- แผลลึก
- เลือดออกในทางเดินอาหารแต่ไม่รุนแรง
- เป็นเฉียบพลัน
- มักเกิดกระเพาะอาหารมากกว่าในลำไส้ส่วนใหญ่แผลตื้น
- เลือดออกในทางเดินอาหารรุนแรง
ยารักษา
- ยาลดกรด ออกฤทธิ์โดยไปสะเทินกรด
- ยายับยั้งการหลั่งกรด
วิธีปฏิบัติตัวเมื่อเป็นแผลในทางเดินอาหารหรือโรคกระเพาะ (อ้างอิง: หมอชาวบ้าน)
ปริมาณอาหารที่กินแต่ละมื้อไม่ควรมากเกินไป เพื่อให้การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ในการย่อยอาหารแต่ละครั้งไม่ทำงานหนักจนเกินไป การกินอิ่มเกินไปจะทำให้อาการของโรคกระเพาะหายช้า ขณะเดียวกันการปล่อยให้ท้องหิวเกินไปก็ไม่เป็นผลดีกับโรคกระเพาะ คนเป็นโรคกระเพาะจึงอาจแบ่งอาหารที่กินออกเป็น ๓ มื้อ และกินอาหารว่างระหว่างมื้อ เพื่อไม่ให้ ท้องว่างนานเกินควร การกินแต่ละครั้งก็ให้กินแต่พออิ่ม เมื่อหิวจึงกินใหม่ แต่ไม่ควรกินจุบจิบหรือถี่จนเกินไป เพราะการกินอาหารจุบจิบจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งกรด และน้ำย่อยออกมาตลอดเวลาและมากขึ้น ทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้าได้ นอกจากนี้ หลังกินอาหารแต่ละครั้งควรอยู่ในท่านั่งหรือยืนไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง เพื่อให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้อย่างดีที่สุด จึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารก่อนนอนอย่างน้อย ๒-๓ ชั่วโมง
อาหารที่กินควรเป็นอาหารที่ครบหมวดหมู่ และเลือกอาหารที่ย่อยง่าย ขณะกินอาหารก็ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อาหารจำพวกเนื้อสัตว์และไขมันจะย่อยยากกว่าอาหารจำพวกข้าว-แป้ง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงจำพวกอาหารทอด อาหารผัดที่ใช้น้ำมันมาก สำหรับเนื้อสัตว์ควรปรุงให้สุก เพราะเนื้อสัตว์ที่ดิบๆ สุกๆ จะย่อยได้ยากขึ้น เนื้อสัตว์จำพวก ปลา กุ้ง ไก่ จะย่อยได้ง่ายกว่าเนื้อวัวหรือเนื้อหมู และควรเลือกกินเนื้อสัตว์ที่ไม่เหนียวหรือมีการสับหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ที่ต้มหรือนึ่งจนสุก ดังนั้นระหว่างที่เป็นโรคกระเพาะจึงควรหลีกเลี่ยงการกินสเต๊กชิ้นใหญ่ๆ
ในอดีตคนเป็นโรคกระเพาะอาจเคยได้รับคำแนะนำให้ดื่มนมบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลามีอาการปวดท้อง เพราะนมเป็นอาหารที่มีความเป็นด่างสูงจะไปช่วยล้างฤทธิ์กรด แต่ในปัจจุบันไม่ได้แนะนำเช่นนี้แล้ว เพราะนมมีโปรตีนสูงอาจไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำย่อยออกมามาก จึงแนะนำให้ดื่มนมตามปกติของคนคนนั้น เช่น ดื่มวันละ ๑ แก้ว โดยไม่จำเป็นต้องดื่มเพิ่มมากขึ้น หากมีอาการโรคกระเพาะก็ให้กินยาลดกรดหรือยาเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหาร หรือยาสมุนไพรที่ตนใช้รักษาอาการปวดท้องแบบโรคกระเพาะ
คนเป็นโรคกระเพาะควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นน้ำย่อย ได้แก่อาหารที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด เช่น แกงรสเผ็ดจัด ของดอง น้ำอัดลม น้ำชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลังที่มีสารกาเฟอีนมาก อาหารที่แข็งหรือมีกากมาก ตลอดจนอาหารที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด อาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นเซลล์ให้ผลิต น้ำย่อยมากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงจนกว่าแผลในกระเพาะ จะหายสนิทจริงๆ หรือถ้าเป็นไปได้ควรจะหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการกินอาหารดังกล่าวตลอดไปด้วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะซ้ำอีก
สำหรับผู้ที่นิยมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรงดหรือลดปริมาณการดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ลง และไม่ควรดื่มก่อนอาหารหรือขณะที่ท้องว่างอย่างเด็ดขาด เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร คนเป็นโรคกระเพาะที่สูบบุหรี่ควรพยายามลดหรือเลิกสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่ทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้าลง และมีโอกาสเกิดเป็นแผลซ้ำใหม่ได้ง่ายกว่าคนไม่สูบบุหรี่
นอกจากเรื่องอาหารดังกล่าวแล้ว คนเป็นโรคกระเพาะควรจะมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่รู้จักผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวล และพักผ่อนให้เพียงพอ โดยวิธีต่างๆ ที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น การออกกำลังกาย วาดภาพ ร้องเพลง เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดทุกชนิด ถ้าหากมีความจำเป็นต้องใช้ยารักษาโรคกระดูก ไขข้ออักเสบ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ซึ่งอาจจำเป็นต้องกินยาป้องกันโรคกระเพาะร่วมไปด้วย
Link: The guideline on management of peptic ulcer
ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับยาได้ที่
FACEBOOK: พึ่งพรเภสัช ร้านยาของครอบครัวคุณเรามีทีมงานเภสัชกรมืออาชีพ ให้คำปรึกษาแก่ท่านด้วยความยินดีและเต็มใจ จะ inbox หรือ timeline ได้เสมอค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น