โรคเล็บขบ (Ingrown nail)
ถ้าพูดถึงเรื่องเล็บขบ หลายคนคงเคยมีสัมผัสประสบการณ์การเป็บเล็บขบกันมามากบ้างน้อยบ้างทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงปลายเท้าเรียวแหลม มีโอกาสเกิดเล็บขบได้มากทีเดียว รวมถึงผู้ที่ชอบเข้าร้านเสริมสวยทำเล็บ หากเจอร้านที่สะอาดก็ดีไป แต่ถ้าเข้าร้านที่ไม่ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำเล็บ อาจจะได้โรคเล็บขบแถมมากับความสวยงามของเล็บด้วย นอกจากนี้โครงสร้างของเล็บก็มีส่วนที่ทำให้เกิดเล็บขบได้เช่นเดียวกัน เล็บขบส่วนใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเล็บทั้งเล็บมือเล็บเท้า แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเล็บเท้ามากกว่าเล็บมือ โดยเฉพาะนิ้วโป้งเท้าข้างซ้ายหรือข้างขวา หรืออาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน
พึ่งพรเภสัช ร้านขายยา บริการให้คำปรึกษาด้านยา ให้ความรู้ด้านยาและสุขภาพ health, medicine, treatment Guideline, drug, drug information service
Translate
วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
โรคปริทันต์หรือรำมะนาด (Periodontitis) ภัยร้ายยกกำลัง 2
โรคปริทันต์หรือรำมะนาด (Periodontitis)
สุขภาพของช่องปากเป็นตัวบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายของบุคคลนั้น ๆ ถ้าเหงือกและฟันแข็งแรงดีก็จะมีระบบย่อยอาหารที่ดี สุขภาพด้านอื่น ๆ ก็จะดีดวย แต่ถ้ามีฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมีการติดเชื้อในช่องปาก จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน นอกจากนี้ยังอาจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะตามมาได้ ในปัจจุบันจากการตรวจสุขภาพช่องปากพบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องฟันผุและเหงือกอักเสบ ในทุกเพศ ทุกวัย และทุกช่วงอายุ ทำให้เห็นว่าคนไทยเรายังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาดของเหงือกและฟันเท่าที่ควร
สุขภาพของช่องปากเป็นตัวบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายของบุคคลนั้น ๆ ถ้าเหงือกและฟันแข็งแรงดีก็จะมีระบบย่อยอาหารที่ดี สุขภาพด้านอื่น ๆ ก็จะดีดวย แต่ถ้ามีฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมีการติดเชื้อในช่องปาก จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน นอกจากนี้ยังอาจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะตามมาได้ ในปัจจุบันจากการตรวจสุขภาพช่องปากพบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องฟันผุและเหงือกอักเสบ ในทุกเพศ ทุกวัย และทุกช่วงอายุ ทำให้เห็นว่าคนไทยเรายังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาดของเหงือกและฟันเท่าที่ควร
วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
การคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency contraception)
การคุมกำเนิดฉุกเฉิน Emergency contraception ในบางแห่งอาจเรียกว่า Postcoital contraception หรือ Morning after pill หมายถึง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่มีความพร้อมของสตรี ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว ได้แก่
- เกิดเหตุฉุกเฉินไม่รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อน เช่น
- การถูกบังคับขืนใจ
- การเผลอตัวเผลอใจมีเพศสัมพันธ์กับแฟนที่คบกันอยู่
- การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่บังเอิญเจอกันแล้วถูกใจแบบ One Night Stand ทั้งๆ ที่ไม่มีการคุมกำเนิดหรือการป้องกันใดๆ
- มีการป้องกันหรือคุมกำเนิดแล้วแต่เกิดข้อผิดผลาดบางอย่าง เช่น
- ลืมฉีดยาคุมกำเนิดเมื่อถึงเวลาที่หมอนัด
- ลืมกินยาคุมกำเนิดติดต่อกันตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป
- การใช้วิธีคุมกำเนิดแบบหลั่งข้างนอก แต่ดึงออกไม่ทันน้ำอสุจิได้เข้าไปในช่องคลอดผู้หญิงแล้ว(วัยรุ่นนิยมใช้วิธีนี้ ทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์และทำแท้งจำนวนมาก)
- ถุงยางอนามัยที่ใช้ หลุด รั่ว หรือฉีกขาด ในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์
วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ไอ (Cough)
การไอ (Cough) เป็นอาการตอบสนองตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ มีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นกลไกป้องกันและกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สารแปลกปลอม และเชื้อโรค ออกจากทางเดินหายใจ หากมีอาการไอบ่อยครั้งอาจมีสาเหตุมาจากโรคบางอย่าง สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการไอมาจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจ นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่นๆ อีก ได้แก่ การสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะไหลลงคอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และยาบางชนิด เช่น ACE inhibitor การไอมากๆ ทำให้เสียบุคลิกภาพและสุขภาพจิต เนื่องจากอาจทำให้ผู้อื่นรำคาญหรือรังเกียจเพราะสามารถแพร่เชื้อโรคให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้อาการไอในบางครั้งยังรบกวนการรับประทานอาหารและการนอนหลับอีกด้วย ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องกระดูกพรุนการไอมากๆ อาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้ อีกทั้งยังอาจทำให้ถุงลมหรือเส้นเลือดฝอยในปอดแตก เลือดไหลออกสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด เกิดอาการหอบเหนื่อยและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ในผู้ที่มีการผ่าตัดตาและหู เช่น การผ่าตัดต้อกระจก หากมีอาการไออาจทำให้เลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่ไปในลูกตาหลุดออกได้ หรือการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู การไอมากๆ อาจทำให้เยื่อแก้วหูเทียมที่ใส่ไว้เคลื่อนที่ออกมาได้
วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD)
โรคกรดไหลย้อน (GERD) เป็นสภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหารอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ระคายเคืองบริเวณลำคอ มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อยขึ้นมาทางปาก สภาวะกรดไหลย้อนนี้หากเป็นเรื้อรังอาจทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีเลือดออกจากหลอดอาหาร และอาจทำให้หลอดอาหารตีบได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นกลายเป็นมะเร็งที่หลอดอาหารได้ โดยที่โรคกรดไหลย้อนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
การดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Diabetic foot care)
เท้าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความสำคัญมาก เพราะเท้าทำให้เราสามารถไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เราต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ส่วนใหญ่เรามักลืมหรือละเลยที่จะดูแลเท้าของตัวเองจนทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีปัญหาหลอดเลือดและปลายประสาทเสื่อม หากเกิดบาดแผลขึ้นที่เท้าแล้วดูแลไม่ถูกวิธี อาจเป็นสาเหตุทำให้ต้องสูญเสียเท้าได้
วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง และโครงสร้างของกระดูกเสื่อมลงทำให้กระดูกเปราะบาง สามารถแตกหักหรือเกิดการยุบตัวได้ง่าย บริเวณที่พบการหักของกระดูกได้บ่อย คือ ข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง เมื่อกระดูกหักจะทำให้รู้สึกปวดมากจนไม่สามารถใช้งานอวัยวะนั้นต่อได้ จำเป็นต้องพักรักษาตัวเป็นระยะเวลานานซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ปอดอักเสบ แผลกดทับ ภาวะหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น อาการแทรกซ้อนต่างๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้สุขภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พบได้บ่อยในหญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้สูงอายุ
วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
เหน็บชา (Numbness)
เหน็บชา (Numbness)
อาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย เกิดขึ้นในบางครั้ง เป็นๆ หายๆ หรือเป็นอยู่ตลอดเวลา พบบ่อยที่บริเวณ มือ เท้า แขน และขา อาการคือรับความรู้สึกเย็น ร้อน เจ็บ ปวด ได้น้อยกว่าปกติจนถึงไม่รู้สึกอะไรเลย เช่น บางคนมีอาการชาแบบร้อนซู่ๆ บริเวณนิ้วก้อยขึ้นมาถึงท้องแขนด้านในเป็นแถบตอนตื่นนอนใหม่ๆ สักพักอาการชานั้นจะหายไปเอง บางคนมีอาการรู้สึกเหมือนมีอะไรยุบยิบบริเวณปลายมือปลายเท้าแล้วหายไป ต่อมาเปลี่ยนเป็นรู้สึกชาหนาๆ ตลอดเวลาแทน ในขณะที่ผู้สูงอายุบางคนที่มีอาการเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวจะมีอาการปวดหลัง ชาขา ร่วมด้วยขาอ่อนแรงได้ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาททั้งสิ้น
อาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย เกิดขึ้นในบางครั้ง เป็นๆ หายๆ หรือเป็นอยู่ตลอดเวลา พบบ่อยที่บริเวณ มือ เท้า แขน และขา อาการคือรับความรู้สึกเย็น ร้อน เจ็บ ปวด ได้น้อยกว่าปกติจนถึงไม่รู้สึกอะไรเลย เช่น บางคนมีอาการชาแบบร้อนซู่ๆ บริเวณนิ้วก้อยขึ้นมาถึงท้องแขนด้านในเป็นแถบตอนตื่นนอนใหม่ๆ สักพักอาการชานั้นจะหายไปเอง บางคนมีอาการรู้สึกเหมือนมีอะไรยุบยิบบริเวณปลายมือปลายเท้าแล้วหายไป ต่อมาเปลี่ยนเป็นรู้สึกชาหนาๆ ตลอดเวลาแทน ในขณะที่ผู้สูงอายุบางคนที่มีอาการเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวจะมีอาการปวดหลัง ชาขา ร่วมด้วยขาอ่อนแรงได้ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาททั้งสิ้น
วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ปวดหลัง (Back pain)
ปวดหลัง (Back pain) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น ปัจจุบันพบมากขึ้นในช่วงวัยทำงาน ซึ่งหากปวดมากอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis)
ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis / Vulvovaginitis) รวมถึงอาการระคายเคืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ปากช่องคลอดซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)