Translate

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

ภูมิแพ้ (Allergy / hypersensitivity)




ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ แต่ปัจจัยเหล่านี้อาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ได้แก่
  1. ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักมีประวัติบิดาหรือมารดาป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โดยที่ผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคภูมิแพ้คนละชนิดกับบิดามารดาก็ได้ เมื่อบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้มีโอกาศให้กำเนิดบุตรที่เป็นโรคภูมิแพ้ได้ร้อยละ 20-40 แต่ถ้าบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ีโอกาศที่บุตรจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้สูงถึงร้อยละ 50-80 เลยทีเดียว
  2. ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษในอากาศที่มาจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ ฝุนละอองจากการทำกสิกรรมรวมถึงโรงสีข้าว

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

เลือดกำเดาไหล (epistaxis / nose bleed)



เลือดกำเดาไหล (epistaxis/nose bleed) คือการที่มีเลือดไหลออกมาจากจมูก ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยภายในจมูกแตก เลือดอาจไหลออกจากจมูกข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักไหลออกมาเพียงข้างเดียวมากว่า โดยมากมักหายได้เองและไม่มีอันตราย พบได้ในทุกเพศทุกวัย หากเลือดออกทางส่วนหน้าของจมูกมักพบในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย ในขณะที่เลือดออกทางส่วนหลังของจมูกมักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากโรคความดันโลหิตสูง


วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

สิว (Acne)



สิว (Acne) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว อาจพบได้ในทารกแรกเกิด (acne neonatorum) หรือคนชรา (senile comedones) จากสถิติของสถาบันโรคผิวหนัง สิวเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์สูงเป็นอันดับที่ 2 ของผู้ป่วยทั้งหมด สิวจะปรากฏอาการในผู้หญิงช่วงอายุ 14-17 ปี และในผู้ชายช่วงอายุ 16-19 ปี ความรุนแรงของสิวจะมากขึ้น 3-5 ปี หลังจากเริ่มเป็นสิว และมักหายไปในช่วงอายุ 20-25 ปี ร้อยละ 85 ของผู้ที่เป็นสิวจะเป็นชนิดไม่รุนแรง มีเพียงร้อยละ 15 ที่เป็นสิวอักเสบรุนแรง


ฝ้า (Melasma)


ฝ้า (Melasma) เป็นผื่นสีน้ำตาลที่ใบหน้า โดยเฉพาะที่บริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก คาง บริเวณที่ถูกแสงแดด รอยโรคเกิดขึ้นช้าๆ และมักเป็นเหมือนกันทั้งสองข้างของใบหน้า พบบ่อยในหญิงวัยกลางคน ผื่นมีสีคล้ำขึ้นเมื่อถูกแสงแดด


วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

ท้องเสีย ท้องร่วง อุจจาระร่วง (Diarrhea)


ดูแลเบื้องต้นเมื่อท้องเสีย

ท้องเสีย Diarrhea หมายถึง การถ่ายเหลวหลายครั้ง หรือ ถ่ายเป็นมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง (ต้องระวังในเด็กเล็กและคนแก่ เพราะจะทำให้เกิด vascular collapse) หรือ ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้ง/วัน


วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

โรคแผลในทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ (Peptic Ulcer)




การแบ่งประเภทของโรคแผลในทางเดินอาหาร

 แบ่งตามตำแหน่งที่เกิด จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.แผลในลำไส้ (Duodenal ulcer: DU) มักพบในผู้ป่วยอายุ 25-55 ปี พบมากในผู้ป่วยอายุ 40 ปี
อาการแสดง : ปวดใต้ลิ้นปี่ มักมีอาการตอนกลางคืน (เที่ยงคืน-ตี2) เมื่อรับประทานอาหารมักจะทำให้อาการปวดบรรเทาลง

2.แผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer: GU) จะไม่พบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่จะพบมากในช่วงอายุ 55-65 ปี
อาการแสดง : ปวดแบบระบุตำแหน่งได้ยาก มักไม่มีอาการตอนกลางคืน การรับประทานอาหารจะทำให้มีอาการปวดได้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

แบ่งตามสาเหตุ จะแบ่งได้ 3 แบบ คือ

1.เกิดจากเชื้อ H.pyroli-associated PUD
  • เป็นเรื้อรัง
  • มักเกิดแผลในลำไส้มากกว่ากระเพาะอาหาร
  • เลือดออกในทางเดินอาหารแต่ไม่รุนแรง
2.การรับประทานยาที่รายคายเคืองต่อทางเดินอาหาร NSAID-induced PUD
  • เป็นเรื้อรัง
  • มักเกิดแผลในกระเพาะอาหารมากกว่าในลำไส้
  • แผลลึก
  • เลือดออกในทางเดินอาหารแต่ไม่รุนแรง
3.ความเครียด (Stress-relate mucosal damage: SRMD)
  • เป็นเฉียบพลัน
  • มักเกิดกระเพาะอาหารมากกว่าในลำไส้ส่วนใหญ่แผลตื้น
  • เลือดออกในทางเดินอาหารรุนแรง

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis)




หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน Acute bronchitis ส่วนมากมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้มีอาการไอ เสมหะขาวใส บางครั้งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการถูกสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากการเผาขยะและถ่าน ฝุ่นละออง เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้อาจทำให้มีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้


ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)



ไซนัส (sinus) หมายถึง โพรงอากาศเล็กๆ ในกะโหลก ซึ่งอยู่รอบๆ จมูกและมีทางเชื่อมต่อกับโพรงจมูก ตามปกติทางเชื่อมดังกล่าวจะเปิดโล่งให้มีการระบายของน้ำเมือกที่สร้างขึ้นในโพรงไซนัสได้สะดวกจึงไม่เกิดการอักเสบ แต่ถ้าหากทางเชื่อมดังกล่าวเกิดการอุดตันขึ้นมา (เช่น เป็นหวัด ผนังกั้นจมูกคด มีเนื้องอกในรูจมูก ได้รับบาดเจ็บ นั่งเครื่องบิน หรือดำน้ำ) น้ำเมือกในโพรงไซนัสไม่สามารถระบายได้ ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในโพรงไซนัส เจริญจนทำให้เกิดการอักเสบ และเป็นหนองขังในโพรงไซนัส ซึ่งเรียกว่าอาการไซนัสอักเสบได้


อาการปวดประจำเดือน (Dysmennorrhea)


อาการปวดประจำเดือน (Dysmennorrhea) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อาการปวดประจำเดือนตามปกติ กับการปวดประจำเดือนจากพยาธิสภาพซึ่งจะมีอาการปวดมากกว่าชนิดแรก เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปีกมดลูกอักเสบ เนื้องอกในโพรงมดลูก คอมดลูกแคบ ทำให้เลือดประจำเดือนไหลไม่สะดวก ซึ่งจะมีการรักษาแตกต่างกันไปตามชนิดของสาเหตุการปวดประจำเดือน


วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

Warfarin: ยาวาร์ฟาริน.. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด





ยาวาร์ฟาริน คือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน โดยยานี้จะออกฤทธิ์ต้านการทำงานของวิตามินเคซึ่งใช้ในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนช้าลง ผู้ป่วยจึงรับประทานวาร์ฟารินเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งจะไปอุดตันระบบไหวเลียนของเลือดภายในร่างกาย