Translate

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (ATOPIC DERMATITIS)




1. อาการ

อาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งเวลาที่สัมผัสกับสิ่งที่แพ้ หรือเวลาที่ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในฤดูหนาวโรคภูมิแพ้จะแสดงอาการรุนแรงกว่าฤดูกาลอื่น ๆ  เช่น ไอ จาม หอบหืด ปากบวม   เยื่อบุตาอักเสบ ตาบวม ผื่นคัน ลมพิษ หรือเรียกว่าผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้อาจเกิดจากการแพ้อาหารหรือสารเคมีอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ หรือแพ้หลายอย่างพร้อมกันก็ได้ โดยผู้ที่เป็นส่วนใหญ่มักจะมีภูมิคุ้มกันโรคไม่แข็งแรง มีอาการแพ้ง่าย ผิวหนังไวต่อสภาพแวดล้อมทั้งร้อน เย็น แห้ง ชื้น เชื้อโรค และสารเคมีที่ระคายเคืองผิวหนัง  ผื่นแพ้ทางผิวหนังมีลักษณะผื่นเป็นวงแดง รูปร่างต่างๆ กัน คือ วงกลม วงรี หรือรูปร่างหยัก คล้ายมีแผนที่อยู่บนตัวผู้ป่วย เนื้อที่อยู่ภายในวงนูนขึ้นเล็กน้อย สีซีดกว่าส่วนขอบ คันมาก เกาตรงไหน ผื่นแดงขึ้นทันที ผื่นคันพวกลมพิษนี้มักจะเกิดอยู่นาน  3-4 ชั่วโมงแล้วจะหายไปเอง สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้อีกเรื่อย ๆ ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ อยู่ในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน เรียกว่า ลมพิษชนิดเฉียบพลัน แต่ถ้าเป็นในระยะเวลายาวนานกว่านี้เรียกว่า ลมพิษชนิดเรื้อรัง ถ้าผื่นเป็นมานานจนเข้าสู่ระยะเรื้อรัง จะพบลักษณะเป็นแผ่นหนาแข็ง มีขุย  เมื่อเป็นแผลที่ผิวหนังทำให้ติดเชื้อง่าย ถ้าติดเชื้อแบคทีเรียจะเป็นตุ่มหนอง ติดเชื้อไวรัสจะเป็นหูด และหูดข้าวสุก ผิวหนังอักเสบที่เป็นๆ หายๆ พบบ่อยได้ในเด็กหากมีการติดเชื้อเหล่านี้ เมื่อเล่นด้วยกันหรือว่ายน้ำในสระเดียวกันอาจติดต่อกันได้ ตำแหน่งที่พบผื่นแตกต่างกันตามวัยของผู้ป่วย เช่น ในเด็กเล็ก ช่วงขวบปีแรกส่วนใหญ่จะพบผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณใบหน้าและศีรษะมากกว่าส่วนอื่น เนื่องจากเด็กเอาแก้มหรือศีรษะถูกไถกับหมอนและผ้าปูที่นอนเพราะคันมาก ในเด็กวัยเรียนและผู้ใหญ่ ผื่นผิวหนังอักเสบพบมากบริเวณข้อพับแขน ข้อพับขา คอ ใบหน้า และผิวหนังตำแหน่งที่มีการเสียดสี ยกเว้นในบุคคลที่มีอาการแพ้มากๆ ผื่นอาจจะเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย


วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรคเล็บขบ (Ingrown nail) ปวดจี๊ดถึงใจ

โรคเล็บขบ (Ingrown nail)


ถ้าพูดถึงเรื่องเล็บขบ หลายคนคงเคยมีสัมผัสประสบการณ์การเป็บเล็บขบกันมามากบ้างน้อยบ้างทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงปลายเท้าเรียวแหลม มีโอกาสเกิดเล็บขบได้มากทีเดียว รวมถึงผู้ที่ชอบเข้าร้านเสริมสวยทำเล็บ หากเจอร้านที่สะอาดก็ดีไป แต่ถ้าเข้าร้านที่ไม่ทำความสะอาดอุปกรณ์ทำเล็บ อาจจะได้โรคเล็บขบแถมมากับความสวยงามของเล็บด้วย  นอกจากนี้โครงสร้างของเล็บก็มีส่วนที่ทำให้เกิดเล็บขบได้เช่นเดียวกัน เล็บขบส่วนใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเล็บทั้งเล็บมือเล็บเท้า แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเล็บเท้ามากกว่าเล็บมือ โดยเฉพาะนิ้วโป้งเท้าข้างซ้ายหรือข้างขวา หรืออาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน

โรคปริทันต์หรือรำมะนาด (Periodontitis) ภัยร้ายยกกำลัง 2

โรคปริทันต์หรือรำมะนาด (Periodontitis)



สุขภาพของช่องปากเป็นตัวบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายของบุคคลนั้น ๆ ถ้าเหงือกและฟันแข็งแรงดีก็จะมีระบบย่อยอาหารที่ดี สุขภาพด้านอื่น ๆ ก็จะดีดวย  แต่ถ้ามีฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือมีการติดเชื้อในช่องปาก จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดอุดตัน นอกจากนี้ยังอาจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะตามมาได้ ในปัจจุบันจากการตรวจสุขภาพช่องปากพบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องฟันผุและเหงือกอักเสบ ในทุกเพศ ทุกวัย และทุกช่วงอายุ ทำให้เห็นว่าคนไทยเรายังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสะอาดของเหงือกและฟันเท่าที่ควร


วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency contraception)





การคุมกำเนิดฉุกเฉิน Emergency contraception ในบางแห่งอาจเรียกว่า Postcoital contraception หรือ Morning after pill หมายถึง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจหรือไม่มีความพร้อมของสตรี ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว ได้แก่
  1. เกิดเหตุฉุกเฉินไม่รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อน เช่น
    • การถูกบังคับขืนใจ
    • การเผลอตัวเผลอใจมีเพศสัมพันธ์กับแฟนที่คบกันอยู่
    • การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่บังเอิญเจอกันแล้วถูกใจแบบ One Night Stand ทั้งๆ ที่ไม่มีการคุมกำเนิดหรือการป้องกันใดๆ
  2. มีการป้องกันหรือคุมกำเนิดแล้วแต่เกิดข้อผิดผลาดบางอย่าง เช่น
    • ลืมฉีดยาคุมกำเนิดเมื่อถึงเวลาที่หมอนัด
    • ลืมกินยาคุมกำเนิดติดต่อกันตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป
    • การใช้วิธีคุมกำเนิดแบบหลั่งข้างนอก แต่ดึงออกไม่ทันน้ำอสุจิได้เข้าไปในช่องคลอดผู้หญิงแล้ว(วัยรุ่นนิยมใช้วิธีนี้ ทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์และทำแท้งจำนวนมาก)
    • ถุงยางอนามัยที่ใช้ หลุด รั่ว หรือฉีกขาด ในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์


วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ไอ (Cough)


การไอ (Cough) เป็นอาการตอบสนองตามธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ มีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นกลไกป้องกันและกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สารแปลกปลอม และเชื้อโรค ออกจากทางเดินหายใจ หากมีอาการไอบ่อยครั้งอาจมีสาเหตุมาจากโรคบางอย่าง สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการไอมาจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจ นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่นๆ อีก ได้แก่ การสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะไหลลงคอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และยาบางชนิด เช่น ACE inhibitor การไอมากๆ ทำให้เสียบุคลิกภาพและสุขภาพจิต เนื่องจากอาจทำให้ผู้อื่นรำคาญหรือรังเกียจเพราะสามารถแพร่เชื้อโรคให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากนี้อาการไอในบางครั้งยังรบกวนการรับประทานอาหารและการนอนหลับอีกด้วย ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องกระดูกพรุนการไอมากๆ อาจทำให้กระดูกซี่โครงหักได้ อีกทั้งยังอาจทำให้ถุงลมหรือเส้นเลือดฝอยในปอดแตก เลือดไหลออกสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด เกิดอาการหอบเหนื่อยและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ในผู้ที่มีการผ่าตัดตาและหู เช่น การผ่าตัดต้อกระจก หากมีอาการไออาจทำให้เลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่ไปในลูกตาหลุดออกได้ หรือการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู การไอมากๆ อาจทำให้เยื่อแก้วหูเทียมที่ใส่ไว้เคลื่อนที่ออกมาได้


วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD)



โรคกรดไหลย้อน (GERD) เป็นสภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหารอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ระคายเคืองบริเวณลำคอ มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมไหลย้อยขึ้นมาทางปาก สภาวะกรดไหลย้อนนี้หากเป็นเรื้อรังอาจทำให้หลอดอาหารอักเสบ มีเลือดออกจากหลอดอาหาร และอาจทำให้หลอดอาหารตีบได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นกลายเป็นมะเร็งที่หลอดอาหารได้ โดยที่โรคกรดไหลย้อนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน


วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Diabetic foot care)




เท้าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีความสำคัญมาก เพราะเท้าทำให้เราสามารถไปยังสถานที่ต่างๆ ที่เราต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ส่วนใหญ่เรามักลืมหรือละเลยที่จะดูแลเท้าของตัวเองจนทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีปัญหาหลอดเลือดและปลายประสาทเสื่อม หากเกิดบาดแผลขึ้นที่เท้าแล้วดูแลไม่ถูกวิธี อาจเป็นสาเหตุทำให้ต้องสูญเสียเท้าได้


วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง และโครงสร้างของกระดูกเสื่อมลงทำให้กระดูกเปราะบาง สามารถแตกหักหรือเกิดการยุบตัวได้ง่าย บริเวณที่พบการหักของกระดูกได้บ่อย คือ ข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง เมื่อกระดูกหักจะทำให้รู้สึกปวดมากจนไม่สามารถใช้งานอวัยวะนั้นต่อได้ จำเป็นต้องพักรักษาตัวเป็นระยะเวลานานซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ปอดอักเสบ แผลกดทับ ภาวะหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น อาการแทรกซ้อนต่างๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้สุขภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พบได้บ่อยในหญิงวัยหมดประจำเดือนหรือผู้สูงอายุ


วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เหน็บชา (Numbness)

เหน็บชา (Numbness)


อาการชาเป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของร่างกาย เกิดขึ้นในบางครั้ง เป็นๆ หายๆ หรือเป็นอยู่ตลอดเวลา พบบ่อยที่บริเวณ มือ เท้า แขน และขา อาการคือรับความรู้สึกเย็น ร้อน เจ็บ ปวด ได้น้อยกว่าปกติจนถึงไม่รู้สึกอะไรเลย เช่น บางคนมีอาการชาแบบร้อนซู่ๆ บริเวณนิ้วก้อยขึ้นมาถึงท้องแขนด้านในเป็นแถบตอนตื่นนอนใหม่ๆ สักพักอาการชานั้นจะหายไปเอง บางคนมีอาการรู้สึกเหมือนมีอะไรยุบยิบบริเวณปลายมือปลายเท้าแล้วหายไป ต่อมาเปลี่ยนเป็นรู้สึกชาหนาๆ ตลอดเวลาแทน ในขณะที่ผู้สูงอายุบางคนที่มีอาการเสื่อมของกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอวจะมีอาการปวดหลัง ชาขา ร่วมด้วยขาอ่อนแรงได้ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของระบบประสาททั้งสิ้น


วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ปวดหลัง (Back pain)




ปวดหลัง (Back pain) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น ปัจจุบันพบมากขึ้นในช่วงวัยทำงาน ซึ่งหากปวดมากอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้


วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis)





ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis / Vulvovaginitis) รวมถึงอาการระคายเคืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ปากช่องคลอดซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย


วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

ภูมิแพ้ (Allergy / hypersensitivity)




ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ แต่ปัจจัยเหล่านี้อาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ได้แก่
  1. ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักมีประวัติบิดาหรือมารดาป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โดยที่ผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคภูมิแพ้คนละชนิดกับบิดามารดาก็ได้ เมื่อบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นโรคภูมิแพ้มีโอกาศให้กำเนิดบุตรที่เป็นโรคภูมิแพ้ได้ร้อยละ 20-40 แต่ถ้าบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ทั้งคู่ีโอกาศที่บุตรจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้สูงถึงร้อยละ 50-80 เลยทีเดียว
  2. ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษในอากาศที่มาจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ ฝุนละอองจากการทำกสิกรรมรวมถึงโรงสีข้าว

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

เลือดกำเดาไหล (epistaxis / nose bleed)



เลือดกำเดาไหล (epistaxis/nose bleed) คือการที่มีเลือดไหลออกมาจากจมูก ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยภายในจมูกแตก เลือดอาจไหลออกจากจมูกข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักไหลออกมาเพียงข้างเดียวมากว่า โดยมากมักหายได้เองและไม่มีอันตราย พบได้ในทุกเพศทุกวัย หากเลือดออกทางส่วนหน้าของจมูกมักพบในเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุน้อย ในขณะที่เลือดออกทางส่วนหลังของจมูกมักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากโรคความดันโลหิตสูง


วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

สิว (Acne)



สิว (Acne) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว อาจพบได้ในทารกแรกเกิด (acne neonatorum) หรือคนชรา (senile comedones) จากสถิติของสถาบันโรคผิวหนัง สิวเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์สูงเป็นอันดับที่ 2 ของผู้ป่วยทั้งหมด สิวจะปรากฏอาการในผู้หญิงช่วงอายุ 14-17 ปี และในผู้ชายช่วงอายุ 16-19 ปี ความรุนแรงของสิวจะมากขึ้น 3-5 ปี หลังจากเริ่มเป็นสิว และมักหายไปในช่วงอายุ 20-25 ปี ร้อยละ 85 ของผู้ที่เป็นสิวจะเป็นชนิดไม่รุนแรง มีเพียงร้อยละ 15 ที่เป็นสิวอักเสบรุนแรง


ฝ้า (Melasma)


ฝ้า (Melasma) เป็นผื่นสีน้ำตาลที่ใบหน้า โดยเฉพาะที่บริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก คาง บริเวณที่ถูกแสงแดด รอยโรคเกิดขึ้นช้าๆ และมักเป็นเหมือนกันทั้งสองข้างของใบหน้า พบบ่อยในหญิงวัยกลางคน ผื่นมีสีคล้ำขึ้นเมื่อถูกแสงแดด


วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

ท้องเสีย ท้องร่วง อุจจาระร่วง (Diarrhea)


ดูแลเบื้องต้นเมื่อท้องเสีย

ท้องเสีย Diarrhea หมายถึง การถ่ายเหลวหลายครั้ง หรือ ถ่ายเป็นมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง (ต้องระวังในเด็กเล็กและคนแก่ เพราะจะทำให้เกิด vascular collapse) หรือ ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้ง/วัน


วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

โรคแผลในทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ (Peptic Ulcer)




การแบ่งประเภทของโรคแผลในทางเดินอาหาร

 แบ่งตามตำแหน่งที่เกิด จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.แผลในลำไส้ (Duodenal ulcer: DU) มักพบในผู้ป่วยอายุ 25-55 ปี พบมากในผู้ป่วยอายุ 40 ปี
อาการแสดง : ปวดใต้ลิ้นปี่ มักมีอาการตอนกลางคืน (เที่ยงคืน-ตี2) เมื่อรับประทานอาหารมักจะทำให้อาการปวดบรรเทาลง

2.แผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer: GU) จะไม่พบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่จะพบมากในช่วงอายุ 55-65 ปี
อาการแสดง : ปวดแบบระบุตำแหน่งได้ยาก มักไม่มีอาการตอนกลางคืน การรับประทานอาหารจะทำให้มีอาการปวดได้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

แบ่งตามสาเหตุ จะแบ่งได้ 3 แบบ คือ

1.เกิดจากเชื้อ H.pyroli-associated PUD
  • เป็นเรื้อรัง
  • มักเกิดแผลในลำไส้มากกว่ากระเพาะอาหาร
  • เลือดออกในทางเดินอาหารแต่ไม่รุนแรง
2.การรับประทานยาที่รายคายเคืองต่อทางเดินอาหาร NSAID-induced PUD
  • เป็นเรื้อรัง
  • มักเกิดแผลในกระเพาะอาหารมากกว่าในลำไส้
  • แผลลึก
  • เลือดออกในทางเดินอาหารแต่ไม่รุนแรง
3.ความเครียด (Stress-relate mucosal damage: SRMD)
  • เป็นเฉียบพลัน
  • มักเกิดกระเพาะอาหารมากกว่าในลำไส้ส่วนใหญ่แผลตื้น
  • เลือดออกในทางเดินอาหารรุนแรง

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis)




หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน Acute bronchitis ส่วนมากมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้มีอาการไอ เสมหะขาวใส บางครั้งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการถูกสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากการเผาขยะและถ่าน ฝุ่นละออง เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้อาจทำให้มีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้


ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)



ไซนัส (sinus) หมายถึง โพรงอากาศเล็กๆ ในกะโหลก ซึ่งอยู่รอบๆ จมูกและมีทางเชื่อมต่อกับโพรงจมูก ตามปกติทางเชื่อมดังกล่าวจะเปิดโล่งให้มีการระบายของน้ำเมือกที่สร้างขึ้นในโพรงไซนัสได้สะดวกจึงไม่เกิดการอักเสบ แต่ถ้าหากทางเชื่อมดังกล่าวเกิดการอุดตันขึ้นมา (เช่น เป็นหวัด ผนังกั้นจมูกคด มีเนื้องอกในรูจมูก ได้รับบาดเจ็บ นั่งเครื่องบิน หรือดำน้ำ) น้ำเมือกในโพรงไซนัสไม่สามารถระบายได้ ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในโพรงไซนัส เจริญจนทำให้เกิดการอักเสบ และเป็นหนองขังในโพรงไซนัส ซึ่งเรียกว่าอาการไซนัสอักเสบได้


อาการปวดประจำเดือน (Dysmennorrhea)


อาการปวดประจำเดือน (Dysmennorrhea) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อาการปวดประจำเดือนตามปกติ กับการปวดประจำเดือนจากพยาธิสภาพซึ่งจะมีอาการปวดมากกว่าชนิดแรก เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปีกมดลูกอักเสบ เนื้องอกในโพรงมดลูก คอมดลูกแคบ ทำให้เลือดประจำเดือนไหลไม่สะดวก ซึ่งจะมีการรักษาแตกต่างกันไปตามชนิดของสาเหตุการปวดประจำเดือน


วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

Warfarin: ยาวาร์ฟาริน.. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด





ยาวาร์ฟาริน คือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน โดยยานี้จะออกฤทธิ์ต้านการทำงานของวิตามินเคซึ่งใช้ในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนช้าลง ผู้ป่วยจึงรับประทานวาร์ฟารินเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งจะไปอุดตันระบบไหวเลียนของเลือดภายในร่างกาย