Translate

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

อาการปวดประจำเดือน (Dysmennorrhea)


อาการปวดประจำเดือน (Dysmennorrhea) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ อาการปวดประจำเดือนตามปกติ กับการปวดประจำเดือนจากพยาธิสภาพซึ่งจะมีอาการปวดมากกว่าชนิดแรก เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ปีกมดลูกอักเสบ เนื้องอกในโพรงมดลูก คอมดลูกแคบ ทำให้เลือดประจำเดือนไหลไม่สะดวก ซึ่งจะมีการรักษาแตกต่างกันไปตามชนิดของสาเหตุการปวดประจำเดือน




 1.Primary Dysmenorrhea

Primary Dysmenorrhea คือ การปวดประจำเดือนตามปกติ เกิดจาก estrogen และ Progesterone กระตุ้นเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกให้สร้าง Prostaglandin ชนิด E และ F มากเกินไปหรือมีความไวต่อสารนี้เพิ่มขึ้น ทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและมดลูกหดตัวแรงขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เส้นเลือดส่วนอื่นๆ ของร่างกายหดตัวได้อีก เป็นผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เนื้อเยื่อได้รับเลือดไม่พอจึงเกิดอาการปวด และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเดิน ร่วมกับอาการปวดประจำเดือน การปวดท้องประจำเดือนส่วนมากจะมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยลามมาที่หลังส่วนล่างและขาอ่อน มักเริ่มปวดก่อนมีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนมาอาการปวดมักทุเลาหรือหายไป หลังตั้งครรภ์อาการอาจลดลงหรือหายไปเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

การรักษา
  • การรักษาเบื้องต้น เช่น พักผ่อน ประคบร้อนบริเวณท้องน้องและหลังด้านล่าง ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • การรักษาโดยใช้ยาลดการสร้าง โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) และลดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคุมกำเนิด (Oral contraceptive) รายที่เป็นอยู่ประจำ อาจให้กินยาเม็ดคุมกำเนิด เพื่อมิให้มีการตกไข่ จะช่วยไม่ให้ปวดได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง อาจให้ติดต่อกันนาน 3-4 เดือน แล้วลองหยุดยา ถ้าหากมีอาการกำเริบใหม่ก็ควรให้กินยาเม็ดคุมกำเนิดต่อไปอีกสักระยะหนึ่งจนกว่าเมื่อหยุดยาแล้วอาการปวดประจำเดือนทุเลาลงไป
  • ถ้าอาการปวดประจำเดือนเริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในผู้หญิงอายุมากกว่า25 ปีขึ้นไป หรือมีอาการปวดมากหลังแต่งงาน หรือมีเลือดประจำเดือนออกมากกกว่าปกติ ควรแนะนำไปโรงพยาบาล เพื่อค้นหาสาเหตุ
  • ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs) ออกฤทธิ์โดยลดระดับ โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ช่วยบรรเทาอาการปวดและลดปริมาณเลือดประจำเดือน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ดีที่สุดควรกินดังนี้
    • กินยาก่อนหรือขณะเริ่มมีประจำเดือน
    • กินยาก่อนหรือขณะเริ่มมีอาการปวด
  • การกินยาตามนี้จะช่วยให้อาการปวดหายไปในเวลา 1 - 2 วัน หากกินยาหลังจากนี้จะทำให้อาการปวดหายช้าลง
  • ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด ส่วนใหญ่มักกินแบบชนิดรวม โดยจะช่วยป้องกันการตกไข่ ลดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก และลดการสร้างโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins)

2.Secondary Dysmenorrhea

Secondary Dysmenorrhea มักปวดรุนแรงกว่าแบบแรก และปวดตลอดเวลาที่มีประจำเดือน เกิดจากความผิดปกติทางสูตินรีเวช เช่น
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • ปีกมดลูกอักเสบ
  • เนื้องอกในโพรงมดลูก
  • คอมดลูกแคบ ทำให้เลือดประจำเดือนไหลไม่สะดวก
นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์คุมกำเนิด เช่น ห่วงคุมกำเนิด ก็มีผลทำให้เกิดอาการปวดท้อง และมีเลือดไหลมากผิดปกติได้ ซึ่งการรักษาอาการปวดประจำเดือนจาก Secondary Dysmenorrhea นี้ต้องรักษาตามสาเหตุ ร่วมกับการให้ยาแก้ปวดลดอักเสบ

อ้างอิง: วิทิตดา อวัยวานนท์. ปวดประจำเดือน. ใน เอกสารประกอบการติวใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม, 22-23. คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาัลัย. กรุงเทพฯ: 2549.

Link: Primary Dysmenorrhea Consensus Guideline


ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับยาได้ที่

FACEBOOK: พึ่งพรเภสัช ร้านยาของครอบครัวคุณ
เรามีทีมงานเภสัชกรมืออาชีพ ให้คำปรึกษาแก่ท่านด้วยความยินดีและเต็มใจ จะ inbox หรือ timeline ได้เสมอค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น