Translate

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

ท้องเสีย ท้องร่วง อุจจาระร่วง (Diarrhea)


ดูแลเบื้องต้นเมื่อท้องเสีย

ท้องเสีย Diarrhea หมายถึง การถ่ายเหลวหลายครั้ง หรือ ถ่ายเป็นมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง (ต้องระวังในเด็กเล็กและคนแก่ เพราะจะทำให้เกิด vascular collapse) หรือ ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้ง/วัน




อาการท้องเสีย
  1. ท้องเสียที่เกิดจากลำไส้เล็กผิดปกติ จะถ่ายมากรุนแรง ถ่ายเป็นน้ำหรือไขมัน กลิ่นเหม็นมาก ไม่พบเลือดปริมาณมาก
  2. ท้องเสียที่เกิดจาก colon ผิดปกติจะถ่ายน้อย เละๆ อาจมีมูกเลือดปน
  3. ท้องเสียที่ควรไปพบแพทย์ ได้แก่
    • มีไข้สูงมากกว่า 38 ํC / อาเจียนรุนแรง / ถ่ายเป็นมูกเลือด
    • ปวดท้องรุนแรง
    • ขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรง มีอาการอาเจียนร่วมกับอาการท้องเสียเป็นเลือด มีไข้สูง และดื่มน้ำได้น้อยแต่ปัสสาวะมาก (มีอาการตาลึกโปน ผิวแห้ง ปากแห้ง มือเท้าเย็น ตัวเขียว ชีพจรเต้นเร็ว)
    • ท้องเสียหลายวันติดต่อกัน นานเกิน 2 สัปดาห์
    • น้ำหนักลดมากกว่า 5%
    • เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ และคนแก่อายุมากกว่า 60 ปี และใช้ยาหลายตัว
    • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น หอบหืด หัวใจ เบาหวาน
สาเหตุของท้องเสีย
  1. อาหาร เช่น อาหารรสจัด เครื่องเทศ นม (ขาด lactase) อาหารไขมันสูง อาหารทะเล (มักพบว่าในกลุ่มคนที่รับประทานอาหารด้วยกันมีอาการเกิดขึ้นพร้อมกันหลายคน) เห็ดพิษ กลอย
  2. สารเคมี เช่น Phenolphthalein, Sorbitol, Lactulose
  3. ยา เช่น ยาในกลุ่ม Penicillin, Cephalosporin, Clindamycin, Tetracycline, Mom, Cisapride
  4. ติดเชื้อจาก
    • Bacteria - salmonella, shigella, e.coli(traveler diarrhea)
    • Virus - rotavirus, norwalk virus
    • Paraside - giardia lambia, E.histolitica
  5. สารพิษ หรือ Toxin จาก Bacteria s.aureus, clostridium
  6. มีโรคที่มักเกี่ยวกับลำไส้เล็ก เช่น Crohn' disease, มะเร็งลำไส้, IBS
สิ่งที่ควรรู้
  • อายุของผู้ป่วย
  • ลักษณะอุจจาระ ความถี่ และอาการอื่นๆ เช่น ปวดเกร็งท้อง
  • ระยะเวลาที่เป็น
  • มีไข้หรือไม่
  • อาหารที่รับประทาน
  • โรคประจำตัว และยาที่รับประทาน
การรักษา

ท้องเสียไม่ติดเชื้อ
  • เกลือแร่(ORS)
  • ยาหยุดถ่าย
  • ยาดูดซับสารพิษ
ท้องเสียติดเชื้อ
  1. Non-inflammatoly ถ่ายเหลวเป็นน้ำ เชื้อก่อโรคได้แก่ Cholera, ETEC, Staph, Campylobacter
  2. inflammatoly ถ่ายบ่อย แต่ปริมาณอุจจาระน้อย มีเมือกหรือเลือดปน เจ็บเวลาถ่าย อาจมีไข้ และปวดท้อง เชื้อก่อโรคได้แก่ Salmonella, Shigella, E.histolyti
  • เกลือแร่ (ORS)
  • ยาหยุดถ่าย (ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีไข้ หรือถ่ายเป็นเลือด)
  • ยาดูดซับสารพิษ
  • ยาปฏิชีวนะ (ให้เมื่อท้องเสียมากกว่า 48 ชั่วโมงแล้วอาการไม่ดีขึ้น / ถ่ายมากกว่า 6 ครั้งใน 24 ชั่วโมง / ท้องเสียร่วมกับมีไข้ ถ่ายมีมูกเลือด)
การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อท้องเสีย (อ้างอิง: อ.พญ.มณฑิรา มณีรัตนะพร )
 
การดูแลตนเองเบื้องต้น ในรายผู้ใหญ่ที่ท้องเสียเฉียบพลัน มักมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือมีเชื้อโรคเจือปน ทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือในบางราย การรับประทานอาหารที่มีรสจัดก็อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
ถ้าอาการท้องเสียมีอาการไม่มาก แนะนำให้ถ่ายอุจจาระออกมาจนหมด หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหยุดถ่าย เพราะจะทำให้ของเสียหรือเชื้อโรคจะยังคงสะสมอยู่ในลำไส้ และระหว่างที่มีอาการ แนะนำให้หยุดเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีผลิตภัณฑ์นมเป็นส่วนประกอบ งดอาหารรสจัดและของหมักดอง
รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก หากมีอาการถ่ายบ่อยจนร่างกายอ่อนเพลีย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมด้วย นอกจากนี้การลดขนาดมื้ออาหารลงในขณะท้องเสีย ก็เป็นการรักษาวิธีหนึ่งซึ่งไม่มีผลเสีย หากร่างกายแข็งแรงดี เพราะจะเป็นการช่วยให้ลำไส้พักและช่วยให้การทำงานกลับเป็นปกติเร็วขึ้น ตรงกันข้ามหากรับประทานเข้าไปมาก อาหารเหล่านั้นจะถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้น้อยหรือไม่ดูดซึมเลย ทำให้ยิ่งรับประทานมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายมากขึ้นเท่านั้น และจะได้ประโยชน์จากอาหารที่รับประทานเข้าไปน้อย

มีหลายคนสงสัยว่า เมื่อท้องเสียต้องรับประทานคาร์บอนหรือไม่ ความจริงแล้วยังไม่มีการยืนยันทางการแพทย์ว่า รับประทานคาร์บอนแล้วจะช่วยดูดซับสารพิษได้จริง อย่างไรก็ตาม หากจะรับประทานคาร์บอน ควรเว้นระยะห่าง 2 ชั่วโมงจากการรับประทานยาชนิดอื่น เช่น ยาฆ่าเชื้อ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้คาร์บอนไปดูดซึมยาดังกล่าว ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง และหลังจากหายท้องเสียแล้ว การรับประทานอาหารซึ่งมีจุลินทรีย์ชนิดดี เช่น โยเกิร์ต หรือผลิตภัณฑ์ที่มีโปรไบโอติก ก็อาจช่วยให้เชื้อต่างๆ ในลำไส้คืนสมดุลได้เร็วขึ้น ที่สำคัญคือการป้องกัน โดยเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด อีกทั้งดูแลสุขอนามัย เช่น ล้างมือด้วยสบู่หลังเข้าห้องน้ำและก่อนกินอาหาร

สุดท้าย ผู้ที่มีอาการต่อไปนี้ ต้องรีบมาพบแพทย์ทันที เช่น อุจจาระมีมูกปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติคล้ายกุ้งเน่า คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลียมาก หรือมีอาการนานกว่า 48 ชั่วโมง และผู้ที่มีโรคประจำตัว รวมทั้งเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้สูงอายุ ไม่ควรรักษาเอง เพราะถ้าอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้



Link: แนวทางการดูแลรักษา ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ใหญ่

Link: WHO Diarrhoea treatment guidelines

Link: Practice Guidelines for the Management of Infectious Diarrhea
     
ท่านสามารถสอบถามปัญหาเกี่ยวกับยาได้ที่


FACEBOOK: พึ่งพรเภสัช ร้านยาของครอบครัวคุณ
เรามีทีมงานเภสัชกรมืออาชีพ ให้คำปรึกษาแก่ท่านด้วยความยินดีและเต็มใจ จะ inbox หรือ timeline ได้เสมอค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น